ประวัติลิฟต์
การใช้ลิฟต์เริ่มต้นมาตั้งแต่ในสมัยยุคกลางด้วยกระเช้าชักรอกอย่างง่าย ที่ส่วนมากจะต้องพึ่งพาแรงงานจากมนุษย์หรืออาศัยกลไกแรงดันน้ำมาทำให้ลิฟต์สามารถเคลื่อนที่ โดยลิฟต์เป็นพาหนะสำหรับเคลื่อนย้ายสิ่งของหรือคนระหว่างชั้นในอาคารสูง มีการเคลื่อนที่ขึ้น-ลงในแนวดิ่งที่ในปัจจุบันสามารถทำงานได้ด้วยระบบไฟฟ้า (อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย)
ลิฟต์ที่มีรูปแบบและลักษณะการทำงานเหมือนลิฟต์ในปัจจุบัน ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในทศวรรษที่ 1800 ด้วยการใช้แหล่งพลังงานจากน้ำหรือไอน้ำ ตัวอย่างลิฟต์ที่ใช้น้ำในการทำงาน มีกระบวนการคือการเติมน้ำลงในท่อกลวงจนถึงระดับที่เกิดแรงไฮดรอลิค (hydraulic) จากนั้นแรงที่เกิดขึ้นจะดันกล่องที่บรรทุกคนหรือสิ่งของให้เคลื่อนที่ขึ้นไปตามท่อกลวง ซึ่งต่อมาความเร็วของกล่องได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยวิธีที่หลากหลาย ได้แก่ การพัฒนาเครื่องยกไฮดรอลิค การนำลิ้นปิดเปิดประเภทต่างๆ เข้ามาควบคุมความเร็ว รวมทั้งใช้เครื่องยก (lifts) ที่เป็นตัวช่วยให้กล่องสามารถเคลื่อนที่ขึ้น-ลงได้ดีขึ้นด้วยเชือกที่ไหลผ่านคานถ่วงน้ำหนักและรอก เป็นต้น ซึ่งลิฟต์ที่ใช้เครื่องยกมาช่วยในการทำงาน ได้พบประวัติการเริ่มใช้งานครั้งแรกในประเทศอังกฤษ ซึ่งถือได้ว่าเป็นลิฟต์ที่มีความเก่าแก่และเป็นบรรพบุรุษของลิฟต์ในปัจจุบัน
ลิฟต์ที่ใช้พลังงานตัวแรก
ลางศตวรรษที่ 19 ได้พบประวัติการใช้ลิฟต์ที่ใช้พลังงานตัวแรกขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้ถูกใช้งานระหว่างชั้นสองชั้นภายในอาคารที่นิวยอร์กเพื่อขนส่งสินค้าในรูปแบบของกระเช้า จนกระทั่งในปี 1853 ลิฟต์ได้ถูกทำการพัฒนาและออกแบบให้มีความปลอดภัยในการใช้งานมากขึ้น โดยกราเวส โอทิส (Elisha Graves Otis ค. ศ.1811-1861) มีรูปแบบและกระบวนการทำงานเมื่อระบบยกตัวของลิฟต์ขัดข้อง คือระบบการทำงานของลิฟต์จะหยุดทำงานด้วยตนเองโดยอัตโนมัติทั้งหมด จากนั้นตู้ลิฟต์จะถูกปล่อยลงมาจนตกถึงฐานเพลาอย่างปลอดภัย
ลิฟต์โอทิส (Otis elevator) ตัวแรกได้ถูกติดตั้งในห้างสรรพสินค้า อี.วี. ฮอฟวูท (E.V. Houghwout department) ในนิวยอร์กสำหรับขนส่งผู้คนในอาคาร ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งทั้งหมดด้วยจำนวนเงินไม่ถึง 300 ดอลลาร์ จากนั้นในปี 1867 ลีออน เอดูซ (Leon Edoux) ได้ทำการประดิษฐ์และคิดค้นลิฟต์พลังงานไฮดรอลิคขึ้น ลิฟต์ของโอทิสจึงได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นการขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากไอน้ำในเวลาต่อมา
หลังจากนั้น บริษัทโอทิส บราเธอส์ (Otis Brothers Company) ได้ถูกสร้างขึ้นในยอร์กเซียร์ นิวยอร์กโดยลูกชายของกราเวส โอทิส สำหรับทำการผลิตลิฟต์เพื่อจำหน่ายหลายพันตัว ซึ่งในปี 1873 ลิฟต์ของโอทิสได้ถูกติดตั้งอย่างแพร่หลายในอาคารพาณิชย์ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา โอทิส บราเธอส์ จึงได้กลายเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงอย่างมากในวงการอุตสาหกรรมลิฟต์ จนกระทั่งปี 1884 แฟรงค์ สปราจ (Frank Sprague ค.ศ.1857-1934) ได้ทำการประดิษฐ์ระบบปุ่มกดสำหรับการควบคุม และประดิษฐ์คิดค้นลิฟต์ไฟฟ้าขึ้น โดยผลงานลิฟต์ตัวแรกได้ถูกนำไปติดตั้งภายในโรงงานฝ้ายที่ลอว์เรนซ์ แมสซาซูเซ็ทส์
ลิฟต์ไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์
ในปี 1889 ลิฟต์ไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ถูกติดตั้งใช้งานครั้งแรกและได้แพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งนักประดิษฐ์ชาว เยอรมัน เวอร์เนอร์ ฟอน ซีเมนส์ (Werner von Siemens ค.ศ. 1816-1892) ได้คิดค้นนำเทคโนโลยีการผลิตลิฟต์มาพัฒนาและปรับใช้เข้ากับมอเตอร์ไฟฟ้า โดยทำการติดมอเตอร์บริเวณก้นลิฟต์และทำให้ลิฟต์เคลื่อนที่ด้วยการใช้อุปกรณ์เกียร์ขยับเพลาที่มีระบบฟันเฟืองติดอยู่
การใช้ลิฟต์ด้วยแหล่งพลังงานจากไฟฟ้าได้เกิดขึ้นในปี 1887 ที่มีการทำงานโดยลิฟต์จะถูกพันรอบด้วยเชือกและก้ามปู แต่เมื่ออาคารถูกสร้างให้มีความสูงของชั้นเพิ่มมากขึ้น เชือกและก้ามปูที่ใช้ก็จำเป็นจะต้องเปลี่ยนให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จนกระทั่งอุปกรณ์ทั้งสองมีความกว้างที่ไม่สมดุลกัน จึงเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ลิฟต์ชนิดนี้ถูกเลิกใช้ไป
ในปี 1889 เทคโนโลยีเกี่ยวกับมอเตอร์และเกียร์ได้ถูกพัฒนาไปใช้งานกับลิฟต์ จนทำให้ลิฟต์สามารถใช้งานในอาคารที่มีความสูงมากขึ้นได้ ด้วยวิธีการนำลิฟต์ไฟฟ้ามาใช้เกียร์แบบต่อตรง ต่อมาในปี 1903 รูปแบบของลิฟต์ได้เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเป็นลิฟต์ไฟฟ้าไร้เกียร์ ที่สามารถทำการติดตั้งและใช้งานได้ภายในอาคารที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งร้อยชั้น และเพื่อให้การทำงานโดยรวมของระบบมีความราบรื่น รวมถึงช่วยให้การเคลื่อนที่และลงจอดของลิฟต์มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้มีการปรับปรุงความเร็วของลิฟต์ จากการใช้มอเตอร์ที่มีความเร็วเพียงระดับเดียวมาเป็นมอเตอร์ที่มีความเร็วหลายระดับ
ลิฟต์ในปัจจุบัน
ในยุคสมัยใหม่นี้เทคโนโลยีต่างๆ ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานแพร่หลายมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนจากระบบปุ่มกดมาใช้งานด้วยระบบแผ่นกุญแจ การควบคุมความเร็วของลิฟต์ด้วยกลไกการเปิด-ปิดและตัวตัดต่างๆ และการใช้ระบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาเสริมการทำงานของลิฟต์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นต้น